วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

โรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เป็นโรคที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ แนวโน้มในปัจจุบัน จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับ การรักษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ในแต่ละปีโรงพยาบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นจำนวน มาก ยิ่งถ้าหากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนของโรครุนแรงที่พบบ่อยคือ ก้อนฝีหนองแตก จะทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้อง อักเสบ อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ บุคลากรในทีมสุขภาพจึงมีส่วนสำคัญในการดูแลผู้ป่วย พยาบาลเป็นบุคลากร ในทีมสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการให้บริการพยาบาล การป้องกัน การควบคุมโรค และฟื้นฟูสภาพของผู้ ป่วย จึงจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อันส่งผล ต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย



ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาจึงได้พยายามค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับโรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน จากตำรา วารสาร งานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเรื่องต่าง ๆ คือ อุบัติการณ์ พยาธิวิทยา ลักษณะทางคลินิก การ วินิจฉัย แนวทางการรักษาของแพทย์เพื่อเกี่ยวกับภาวะนี้ ผู้ศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากร ในทีมสุขภาพ และผู้สนใจ



โรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานเป็นกลุ่มอาการทางคลินิกชนิดเฉียบพลันที่สัมพันธ์กับการแพร่กระจายของจุลชีพ จากช่องคลอด หรือปากมดลูกขึ้นไปยังเยื่อบุโพรงมดลูก หลอดมดลูก และ/หรือบริเวณใกล้เคียง เป็นโรคทางนรี เวชที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในสหรัฐอเมริกาแต่ละปีพบว่ามีสตรีมากกว่า 1 ล้านคนได้รับการรักษาเนื่องจากโรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน มากกว่า 250,000 คนต้องถูกรับไว้รักษาใน โรงพยาบาล 150,000 คน ต้องได้รับการรักษาโดยผ่าตัด และจำนวนมากต้องผ่าตัดมดลูกออก (กิจประมุข ตันตยาภรณ์และคณะ,2544:105) แนวโน้มในปัจจุบันจำนวนของการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลของผู้ ป่วยภาวะนี้เพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีระบบกำหนดไว้ว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกชนิด จะต้อง แจ้งต่อกระทรวงสาธารณสุข และเนื่องจากโรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ไม่ได้นับเป็นโรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ที่จำเป็นต้องรายงาน ดังนั้นอุบัติการณ์ของโรคนี้จึงยังไม่มีตัวเลขแน่นอน โรคนี้มีความสำคัญเนื่องจากมัก พบในสตรีวัยเจริญพันธ์ ถ้าได้รับการวินิจฉัยล่าช้า การรักษาไม่เพียงพอ

หรือถูกต้องก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ การกลายเป็นก้อนฝีหนอง ซึ่งอาจแตกเข้าสู่ช่องท้อง (ruptured tubo-ovarian abscess) ถือเป็นภาวะที่อันตรายร้ายแรงต่อผู้ป่วยและเป็น สาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยที่เป็นโรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน อัตราตายร้อยละ 5-10 (สมบูรณ์ คุณา ธิคม,สุวนิตย์ ธีระศักดิ์วิชยา และภาคภูมิ โพธิ์พงษ์,2542:163) ในการศึกษาครั้งนี้กล่าวถึง โรคอักเสบติด เชื้อในอุ้งเชิงกรานที่มีก้อนฝีหนองบริเวณท่อนำไข่และรังไข่ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดและอาจทำให้ผู้ ป่วยเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งจากแพทย์ และพยาบาลเพื่อประคับประคองและส่งเสริมให้ผู้ป่วยร่วมมือในการรักษาอย่างต่อเนื่องช่วยให้ภาวะแทรกซ้อนที่มี อันตรายร้ายแรงที่อาจตามมาลดน้อยลงได้ ด้วยเหตุนี้พยาบาลผู้ให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องมีความรู้และความ ชำนาญเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม


คำจำกัดความ

โรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease หรือ PID) หมายถึง การอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรังของอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนบน ได้แก่ มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ รวมทั้งเอ็นต่าง ๆ ที่ยึด อวัยวะเหล่านี้ และเยื่อบุช่องท้องบริเวณอุ้งเชิงกรานถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้ออาจจะกระจาย เข้าสู่ช่องท้องเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบบริเวณกว้างได้ โรคนี้มีความสำคัญเนื่องจากมักพบในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ถ้า ได้รับการวินิจฉัยล่าช้ารักษาไม่เพียงพอหรือถูกต้อง จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลเสียตามมาได้

เช่น กลายเป็นก้อนฝีหนอง อาจแตกเข้าสู่ช่องท้องทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ (ธีระ ทองสง,จตุพล ศรีสมบูรณ์และอภิ ชาติ โอฬารรัตนชัย,2539:169)

ก้อนฝีหนองบริเวณท่อนำไข่และรังไข่ (tubo-ovarian abscess หรือ TOA) หมายถึง การ อักเสบของท่อนำไข่และรังไข่ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เกิดจากเชื้อโรคที่ เข้ามาทางปากมดลูก ลุกลามไปตามเยื่อบุมดลูกแล้วแผ่กระจายออกไปตามเยื่อบุท่อนำไข่และรังไข่ (tubo- ovarian complex) หรือในกรณีที่ประจวบเหมาะกับผู้ป่วย มีการตกไข่เกิดขึ้น เกิดรอยแตกที่ผนังและ เนื้อของรังไข่ เชื้อจะลุกลามเข้าไปกลายเป็นก้อนฝีหนอง ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที การอักเสบจะรุนแรงมากขึ้น ก้อนฝีหนองแตกอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ (สมบูรณ์ คุณาธิคม,สุวนิตย์ ธีระศักดิ์วิชยา และภาคภูมิ โพธิ์ พงษ์,2542:155)

อุบัติการณ์

โรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เป็นโรคที่พบในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีเพศสัมพันธ์ สตรีวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ถี่จะมี ความเสี่ยงสูงถึง 1 ใน 8 ราย แต่จะมีอัตราเสี่ยงลดลงเหลือ 1 ใน 80 ราย ในสตรีที่มีอายุมากกว่า 25 ปี ( สมบูรณ์ คุณาธิคม,สุวนิตย์ ธีระศักดิ์วิชยา และภาคภูมิ โพธิ์พงษ์,2542:154) และภาวะแทรกซ้อนที่ร้าย แรงของโรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน คือ ก้อนฝีหนองบริเวณท่อนำไข่และรังไข่ พบได้ประมาณร้อยละ 7 – 16 สามารถเกิดขึ้นกับท่อนำไข่ข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มีโอกาสแตกเข้าสู่ช่องท้องทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตพบได้ร้อย ละ 5-10 (กิจประมุข ตันตยาภรณ์และคณะ,2544:113)


สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่างขึ้นไปยังส่วนบน แล้วทำให้เกิดการ อักเสบขึ้น เชื้อที่ทำให้เกิดโรคมีหลายชนิด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. เชื้อติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexual transmitted organisme) ประกอบด้วย เชื้อ หนองใน (Neisseria gonorrhoea) เชื้อคลามิเดีย (Chlamydia trachomatis) และ Mycoplasma homines เชื้อที่พบเป็นสาเหตุบ่อยที่สุด คือ เชื้อหนองใน และเชื้อคลามิเดีย ประมาณร้อยละ 50 - 60 (สมบูรณ์ คุณาธิคม,สุวนิตย์

ธีระศักดิ์วิชยา และภาคภูมิ โพธิ์พงษ์,2542:154)

2. เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ที่ในภาวะปกติจะเป็น mormal flora แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิด ภาวะขาดสมดุลของสิ่งแวดล้อมในช่องคลอด เช่น ภาวะบาดเจ็บจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือภาวะมีเลือดออกทางช่อง คลอดเรื้อรัง เชื้อเหล่านี้ก็จะกลับกลายมาเป็นเชื้อก่อโรคได้ เชื้อที่พบบ่อย มักเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic bacteria) เช่น Peptococci, Peptostreptococci, Gardnerella vaginalis นอกจากนี้ยังพบเชื้อก่อโรคอื่น ๆ ที่พบรองลงมา ได้แก่ Bacteroides, Clostridia, Escherichia coli, Streptococcus species และ Staphylococcus species เป็นต้น

ปัจจัยส่งเสริม

1. อายุ สตรีอายุน้อยจะมีภูมิคุ้มกันป้องกันตัวเองต่ำในสิ่งคัดหลั่งของอวัยวะสืบพันธุ์และมูกของปากมดลูกยังมี คุณสมบัติในการป้องกันการลุกลามของเชื้อแบคทีเรียได้ไม่ดีพอ

2. การมีเพศสัมพันธ์ ในสตรีบางอาชีพที่มีคู่นอนหลาย ๆ คน เช่น หญิงบริการมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าสตรีทั่ว ไป

3. การคุมกำเนิด สตรีที่ใส่ห่วงอนามัย (intrauterine contraceptive device) มีอัตราเสี่ยงเป็น 1.5 - 5 เท่าของสตรีที่ไม่ได้ใส่ห่วงอนามัย

4. การทำหัตถการทางสูติศาสตร์นรีเวช เช่น การขยายรูปากมดลูก การขูดมดลูก การฉีดสีเพื่อดูมดลูกและท่อนำ ไข่ (hysterosalpingography) การใส่ห่วงอนามัย ถ้ากระทำโดยไม่ได้ระมัดระวังในเรื่อง เทคนิคการปลอดเชื้อ (aseptic technique) พบว่าอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูง

5. ในระยะหลังคลอดและในขณะมีประจำเดือน ในช่วงดังกล่าวกลไกในการป้องกันการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ ลดน้อยลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อลุกลามขึ้นไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนบนได้มากขึ้น

6. การสูบบุหรี่ เพื่อโอกาสในการเป็นโรคนี้มากขึ้น เนื่องจากบุหรี่อาจไปลดฤทธิ์ปกป้องของท่อสืบพันธุ์ส่วน ล่าง

7. การสวนล้างช่องคลอด อาจเพิ่มความเสี่ยงนี้ได้

8. มีประวัติการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานมาก่อนและได้รับการรักษาไม่เพียงพอ การติดเชื้อหนองใน มดลูก อักเสบหลังคลอด การแท้งติดเชื้อ เป็นต้น



พยาธิสภาพ

การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดตามหลังการมีเพศสัมพันธ์และเป็นการติดเชื้อขึ้นไปจากช่องคลอด ปากมดลูกขึ้นมายังท่อ สืบพันธุ์ส่วนบน ในกรณีของเชื้อหนองในและคลามิเดีย เชื้อมักจะอยู่บริเวณปากมดลูกอยู่ก่อน เมื่อมีประจำเดือน มูกปากมดลูกซึ่งเป็นด่านในการป้องกันเชื้อโรคจะหลุดออกไป และเยื่อบุโพรงมดลูกสลายตัวหลุดออกมา ทำให้ ความต้านทานในการบุกรุกของเชื้อลดลง เชื้อจึงเข้าสู่โพรงมดลูกได้ง่าย และขึ้นไปสู่ท่อนำไข่ทั้งสองข้าง ทำให้เกิด การอักเสบได้ เมื่อท่อนำไข่ติดเชื้อ หนองอาจจะไหลออกทางเนื้อเยื่อส่วนปลายท่อนำไข่ (fimbria) เข้าไป ในช่องท้องเป็นเยื่อบุช่องท้อง ส่วนอุ้งเชิงกรานอักเสบ (pelvic peritonitis) หนองอาจจะ กระจายขึ้นไปยังช่องท้องส่วนบน ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อของผิวตับ (perihepatitis) เรียกว่า กลุ่มอาการฟิทซ์ ฮักห์ เคอติส (Fitz – Hugh – Curtis syndrome) มีอาการคล้ายโรคตับ ผิวตับมีลักษณะเป็นเส้นของพังผืดคล้ายสายไวโอลิน (violin string adhesion) ยึดเกาะผิว ตับกับผนังช่องท้อง

ในรายที่เป็นมากจนถึงขั้นเกิดเยื่อบุช่องท้องส่วนอุ้งเชิงกรานอักเสบแล้ว การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง จะทำให้ อวัยวะต่างๆ ในอุ้งเชิงกรานยึดติดกัน อาจเกิดพังผืดดึงรั้งท่อนำไข่ให้บิดเบี้ยว เสียรูปร่างไป การบวมของผนังท่อนำ ไข่ อาจทำให้รูเปิดอุดตัน หนองระบายออกไม่ได้กลายเป็นก้อนหนองบริเวณท่อนำไข่ (pyosalpinx) และถ้ามีการตกไข่หรือมีรอยแผลที่รังไข่เกิดขึ้นในขณะที่มีการอักเสบติดเชื้อ เชื้อที่เป็นสาเหตุจะลามเข้าไปในเนื้อ เยื่อรังไข่ ไปทำลายรังไข่ทำให้กลายเป็นก้อนฝีหนองบริเวณท่อนำไข่และรังไข่ (tubo-ovarian abscess หรือ TOA)


อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน จะมีอาการและอาการแสดงที่ไม่เฉพาะเจาะจง บางรายมีอาการน้อย มากจนตัวผู้ป่วยเองไม่ได้สังเกตไปจนถึงอาการรุนแรงมากขนาดคุกคามชีวิตได้ อาการที่พบบ่อยมีดังต่อไปนี้

1. อาการปวดท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่มักจะเริ่มมีอาการปวดก่อนและหลัง มีประจำเดือน (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 14 วันหลังหมดประจำเดือน) อาการปวดมักมีลักษณะปวดหน่วงตลอดเวลา บางครั้งอาจปวดเกร็งเป็นระยะ มักเป็นทั้งสองข้างของท้องน้อย แม้ว่าบางรายอาจเริ่มเกิดขึ้นที่ข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ป่วย จะรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือมีเพศสัมพันธ์

2. ตกขาวผิดปกติ มีหนองกลิ่นเหม็นออกจากช่องคลอด

3. อาการของท่อปัสสาวะอักเสบ ได้แก่ ถ่ายปัสสาวะแสบขัด ถ่ายปัสสาวะลำบาก ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือถ่าย ปัสสาวะกะปริดกะปรอย

4. เลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก อาจมีลักษณะเป็นเลือดออกกะปริดกะปรอย หรือเลือดประจำเดือนออกมาก ผิดปกติ อาจพบได้ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ป่วยซึ่งเป็นอาการแสดงของเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ (endometritis) (กิจประมุข ตันตยาภรณ์ และคณะ,2544:108)

5. ไข้ ส่วนใหญ่มักจะมีไข้สูง อาการไข้จะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือใกล้เคียงกับเวลาที่เริ่มมีอาการปวดท้องน้อย

6. อาการคลื่นไส้อาเจียนและ/หรือท้องเสียถ่ายเหลว แสดงถึงการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องและโรคที่เกิดขึ้นอยู่ ในเกณฑ์รุนแรง



อาการแสดงที่ตรวจพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน มีดังต่อไปนี้

1. กดเจ็บบริเวณท้องน้อย (lower abdominal tenderness)

2. เจ็บภายในท้องน้อยขณะโยกปากมดลูก (cervical motion tenderness)

3. กดเจ็บบริเวณปีกมดลูกในขณะตรวจภายใน (bilateral adnexal tenderness)

4. ตรวจพบตกขาวผิดปกติ หรือลักษณะของปากมดลูกอักเสบ

5. ตรวจพบการบวมหรือก้อนบริเวณท่อนำไข่

6. อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38 องศาเซลเซียส


ศึกษาเพิ่มเติม คลิก !!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น